วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การให้คำปรึกษา









แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว หมายถึง  แนวทางการดำเนินกิจกรรมแนะแนวที่มีขอบข่ายครอบคลุม  การแนะแนวด้านอาชีพ  ด้านการศึกษา  ด้านส่วนตัวและสังคม  หรือนอกเหนือจากนี้ตามความต้องการของผู้จัดทำเพื่อให้การจัดกิจกรรมมีทิศทางตามที่กำหนดไว้  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามขั้นตอนกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ

การแนะแนวดีจึงควรให้ครอบคลุม 5 บริการเพื่อประโยชน์ต่อตัวบุคคลคือ ผู้เรียน เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรทางการศึกษา คือ มีฐานข้อมูลในการพัฒนาการศึกษาและช่วยเหลือผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
การแนะแนวที่ดีจึงควรให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องการแนะแนวโดยพื้นฐานต้องให้ความสำคัญกับทุก ๆ คน ที่เข้ารับการศึกษาในสถานศึกษานั้น ๆ การมีข้อมูลของผู้เรียนมากยิ่งเป็นประโยชน์ สามารถนำข้อมูลต่างๆ มาช่วยเหลือและพัฒนาการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
  1. บริการศึกษาเด็กรายบุคคล

                เป็นการรวบรวมข้อมูลของนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล นำไปสู่การช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ

      
  2. บริการสนเทศ

                เป็นบริการที่ให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม โดยวิธีการต่างๆ ทั้งในรูปแบบบริการปกติและโครงการต่างๆ ทำให้นักเรียนมีข้อมูลที่ทันสมัยใช้ในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ

        3. บริการให้การปรึกษา

                เป็นการให้ความช่วยเหลือทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ด้วยคณาจารย์งานแนะแนวและทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เช่น พยาบาล นักจิตวิทยาและจิตแพทย์

        4. บริการจัดวางตัวบุคคล

                เป็นการช่วยเหลือ ป้องกัน แก้ไข และส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล และให้ความช่วยเหลือในกรณีขัดสนต่างๆ เช่น ทุนการศึกษา ฯลฯ

        5. บริการติดตามผลและประเมินผล

                เป็นการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานที่ทำไว้ เพื่อค้นหาข้อสรุป ข้อบกพร่อง เพื่อนำมาปรับปรุงงานบริการต่อไป

           นอกจากนี้งานแนะแนว ยังร่วมกับคณะกรรมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในการช่วยเหลือ ป้องกัน แก้ไข พัฒนาและส่งเสริมนักเรียนได้เต็มศักยภาพ ส่งผลให้นักเรียน เก่ง ดี มีสุข ตามเป้าหมายของการศึกษาและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติสืบไป

 บริการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ เป็นบริการสำคัญที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถศึกษาด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกระบวนการให้การปรึกษาและแนะแนว ด้าน วิธีการศึกษาด้วยตนเอง การจัดเวลาเรียน การเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษาทางไกล การแนะแนวอาชีพ และการศึกษาต่อในระดับสูงตลอดจนปัญหาทางด้านส่วนตัว อารมณ์ สังคม ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดบริการแนะแนวการศึกษาและอาชีพในรูปแบบของสื่อการแนะแนวการศึกษา, กิจกรรมแนะแนวการศึกษา และการให้การปรึกษาแนะแนวเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม

1.  ความหมายของบริการสนเทศ
บริการสารสนเทศ หมายถึง งานบริการที่ให้ข้อมูลอย่างละเอียดลึกซึ้ง ช่วยค้นหา ข้อมูลหรือเรื่องราวในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้บริการหลายประเภท เช่น บริการจัดทำ ดรรชนีและสาระสังเขปบริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล บริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น และยังต้องติดต่อกับศูนย์เอกสารและศูนย์สารสนเทศต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ ในการค้นหา ข้อมูลโดยใช้ information sources นั้น นอกจากจะเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว information sources ยังรวมถึงสารสนเทศที่อยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ สามารถค้นข้อมูลออกมาในรูปบรรณานุกรม และเนื้อหาเต็มฉบับ (fulltext)บริการสารสนเทศมีจุดมุ่งหมายต้องการให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์วดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
 2. หลักการของบริการสนเทศ
 หลักการของบริการสนเทศจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
 1.ความถูกต้อง
 2.มีความสมบูรณ์
 3.เชื่อถือได้
 4.ต้องตรงประเด็น
 5.ชัดเจน  เข้าใจจ่าย
 6.ต้องทันเวลา

 3.ประเภทของบริการสนเทศ
               ในการให้ข้อสนเทศนั้นสามารถแบ่งข้อสนเทศออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 
    1. ข้อสนเทศทางด้านการศึกษา  ( education  information)  หมายถึง  การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับโอกาสและข้อกำหนดต่างๆ ทางด้านการศึกษาหรือการฝึกฝนรวมทั้งหลักสตรู  สถานภาพและปัญหาต่างๆ  ของชีวิตการเรียน
     ข้อสนเทศทางการศึกษาอาจประกอบไปด้วยสาระต่างๆ
 1.สถานที่เรียน
 2.หลักสตรูที่เปิดสอนหรืออบรม
 3.โครงสร้างหลักสตรู  รายวิชาเรียน
 4.ค่าใช้จ่ายในการเรียน  ที่พักอาศัย  และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
 5.กิจกรรมต่างๆ ที่มีในสถาบัน
 6.การดำรงชีวิตอยู่ในสถาบัน
 7.โอการทางการศึกษาหลังสำเร็จจากสถาบัน
 8.โอการในการทำงานหลังจากสำเร็จจากสถาบัน
      2. ข้อสนเทศทางการอาชีพ  (vocational  information)  หมายถึง  การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ทางด้านการงาน คุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้าไปทำงาน สถานภาพและคุณลักษณะของการทำงานความก้าวหน้าและสิ่งตอบแทนในการงาน  ข้อสนเทศดังกล่าวจะต้องเป็นข้อข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเป็นประโยชน์ต่อการเลือกอาชีพของเด็กทุกคน     
       3. ข้อสนเทศทางด้านส่วนและด้านสังคม     (social  information)  หมายถึง   การให้ข้อสนเทศที่เกี่ยวกับโอกาสและอิทธิพลของสิ่งแวดแล้วต่างๆ  ที่มีต่อบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  ซึ่งจะช่วยให้เด็กเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น  และสามารถปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและบุคคลอื่นๆ  ในสังคม
 4.เทคนิควิธีการในการให้บริการสนเทศ
       เทคนิควิธีการในการให้บริการสนเทศมีดังต่อไปนี้
 1. การให้ข้อสนเทศเป็นรายบุคคล  คือ  การสัมภาษณ์เพื่อให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อสนเทศต่างๆ ปัญหาการไม่รู้กระจ่างแจ้งเกี่ยวกับข้อสนเทศต่างๆ ปัญหาการไม่รู้จักหรือไม่แน่ใจกับตนเองในเรื่องต่างๆ ปัญหาความไม่สามารถต่อการเลือกและตัดสินใจในการเลือกศึกษาอาชีพและปรับตัวตัวในสังคม  เป็นต้น
 2. การให้ข้อสนเทศเป็นกลุ่ม  คือ  เป็นวิธีการที่สำคัญและจำเป็นต้องจัดเพราะเท่ากับเป็นการแนะแนวนักเรียนทุกคน ส่วนใหญ่จะมุ่งเสนอในรูปแบบของกิจกรรม  ได้แก่  รายการวิทยุ  โทรทัศน์  การปฐมนิเทศ  เป็นต้น 
ความหมายบริการให้คำปรึกษา (Counseling Service)
       บริการให้คำปรึกษานับว่าเป็น หัวใจของบริการแนะแนวซึ่งถือว่าเป็นบริการที่สำคัญที่สุดในบริการแนะแนว การบริการแนะแนวที่จัดขึ้นในสถานศึกษาจะขาดบริการให้คำปรึกษาเสียมิได้
บริการให้คำปรึกษา จึงเป็นบริการที่ทุกคนรู้จักดี บางครั้งมีผู้สับสนว่าบริการแนะแนวก็คือ บริการให้คำปรึกษานั่นเอง ทั้งนี้เพราะบริการแนะแนวจะจัดบริการให้คำปรึกษาอย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าบริการอื่น ๆ ความจริงแล้วการบริการให้คำปรึกษานั้นเป็นบริการหนึ่งของบริการแนะแนว
หลักการให้คำปรึกษา
   การให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือรูปแบบหนึ่ง  ที่อาศัยความสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการปรึกษา  เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา ได้ความรู้และทางเลือกในการแก้ปัญหานั้นอย่างเพียงพอมีสภาพอารมณ์และจิตใจที่พร้อมจะคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง
วัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา จึงประกอบด้วยการช่วยให้วัยรุ่น
1.        เกิดแรงจูงใจที่จะให้ข้อมูล
2.        เข้าใจและเห็นปัญหาของตนเอง
3.        อยากแก้ไขปัญหา  หรือพัฒนาตนเอง
4.        ดำเนินการแก้ไขปัญหา  หรือพัฒนาตนเอง

ประเภทของการให้คำปรึกษา
การให้คำปรึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Counseling)
การให้คำปรึกษาประเภทนี้เป็นแบบที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ การให้คำปรึกษาจะเป็นการพบกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษา 1 คน  กับผู้ขอคำปรึกษา 1 คน โดยร่วมมือกัน  การให้คำปรึกษาแบบนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษาให้สามารถเข้าใจตนเอง  เข้าใจปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือเพื่อให้สมาชิกในองค์การ  เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น  ทำให้คนในองค์การได้ตระหนักถึงความรู้สึกเกี่ยวกับปฏิกิริยาและการแสดงออกของอารมณ์ของตนและผู้อื่น  เข้าใจความสำคัญของทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมต่าง ๆของบุคคล เข้าใจความสำคัญของการเสริมแรงและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนสามารถกำหนดเป้าหมายและการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้
2. การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling)
การให้คำปรึกษาประเภทนี้  หรืออาจเรียกว่าการให้คำปรึกษาเชิงกระบวนการ  เป็นกระบวนการที่บุคคลที่มีความต้องการหรือปัญหาที่คล้ายกันหรือตรงกัน ต้องการปรับปรุงตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือต้องการจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน  มารวมกันเป็นกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือซึ่งกันและกันโดยมีผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ช่วยเหลือกลุ่ม  สมาชิกในกลุ่มประมาณ  7 - 9  คน  ต่อผู้ให้คำปรึกษา 1 คนสมาชิกในกลุ่มเป็นผู้พิจารณากำหนดปัญหา แสดงออกเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดเห็นของแต่ละคนเป็นการได้ระบายความรู้สึกและความคิดเห็นของแต่ละคน เป็นการได้ระบายความรู้สึกขัดแย้งในจิตใจได้สำรวจตนเอง ได้ฝึกการยอมรับตนเอง กล้าที่จะเผชิญปัญหาและได้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงตนเองกับทั้งที่ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และได้ตระหนักว่าผู้อื่นก็มีความขัดแย้งหรือความคิดเห็นเช่นเดียวกับตนไม่ใช่เขาคนเดียวที่มีปัญหา



 เทคนิคการให้คำปรึกษา
    เทคนิคการให้คำปรึกษา  สามารถนำมาใช้ตั้งแต่เริ่มการสัมภาษณ์วัยรุ่น ขั้นตอน ดังนี้
1.  การเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
2.  การสำรวจลงไปในปัญหา หรือสาเหตุที่ทำให้ต้องมาพบกัน
3.  สรุปและเลือกประเด็นที่สำคัญร่วมกัน  ที่จะทำงานร่วมกัน
4.  ตั้งเป้าหมายในการทำงานต่อไปด้วยกัน  คือการแก้ไขปัญหา
5.  การดำเนินการช่วยเหลือ การฝึกฝนทักษะต่างๆ
6.  การสรุปและยุติการให้คำปรึกษา
เทคนิคที่ใช้
เทคนิคการให้คำปรึกษา ตามลำดับขั้นมีดังนี้
1. การเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
    - การจัดสิ่งแวดล้อม  ห้องตรวจควรความมิดชิด เป็นสัดส่วน ไม่มีเสียงรบกวน ไม่มีคนเดินผ่านไปมา บรรยากาศมีความสงบและเป็นกันเอง
    - ท่านั่ง  ควรเป็นลักษณะตั้งฉากกัน ไม่ควรเผชิญหน้ากันตรงๆ  เยื้องกันเล็กน้อย ใกล้กันพอที่จะแตะไหล่ได้
   -  ก่อนการเริ่มต้นสัมภาษณ์  ควรจัดลำดับการสัมภาษณ์ให้ดี  (ควรพบวัยรุ่นพร้อมพ่อแม่สั้นๆ  เพื่อทำความเข้าใจปัญหาเบื้องต้นก่อน  หลังจากนั้นจึงขอสัมภาษณ์วัยรุ่นตามลำพัง)
    - เปิดการสนทนานำให้เกิดความผ่อนคลาย เป็นกันเอง(small talk)
2. การสำรวจลงไปในปัญหา หรือสาเหตุที่ทำให้ต้องมาพบ
การรักษาความลับ(confidentiality) ก่อนการสำรวจลงลึกในประเด็นปัญหา  ควรสังเกตท่าที  ความร่วมมือ  การเปิดเผยข้อมูล  ว่าวัยรุ่นมีความไว้วางใจแพทย์มากน้อยเพียงไร  มีเรื่องใดที่วัยรุ่นยังกังวล เช่นเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลของวัยรุ่น ควรให้ความมั่นใจเรื่องนี้

บริการจัดวางตัวบุคคล
บริการของแนะแนวสำหรับช่วยเหลือผู้เรียนในโรงเรียน  เป็นการช่วยเหลือในด้านการพัฒนาบุคคล ในด้านต่างๆ  ในการปัญหาการเรียนรู้ ปัญหาอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นความช่วยเหลือในด้านต่างๆ  อย่างเช่นการให้ทุนการศึกษา
ดังนั้นการจัดวางตัวบุคคลเป็นบริการที่คอยช่วยเหลือผู้เรียน
ประโยชน์ของบริการจัดวางตัวบุคคล
*ช่วยผู้เรียนที่มีความขาดแคลนทางด้านทุนทรัพย์ ได้รับการช่วยเหลือด้านต่างๆ
*ช่วยเหลือในด้านการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ ด้วยวิธีการต่างๆ
*ช่วยสนับสนุนสร้างเสริมประสบการณ์ด้าน ๆ  ตามความสนใจของผู้เรียน
*ช่วยเหลือและส่งเสริมความสามารถและทักษะต่าง ๆ
*ช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหา

วิธีการจัดบริการจัดวางตัวบุคคล
*จัดสรรทุน
*จัดสรรอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
*จัดสรรโคต้าศึกษาต่อ
*จัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์
*ติดตามช่วยเหลือผู้เรียน
บริการติดตามและประเมินผล
เป็นรูปแบบการบริการของแนะแนวสำหรับคอยติดตามผลในเรื่องต่างๆ  อย่างเช่นติดตามผลนักเรียนที่จบจากสถานศึกษา  และบันทึกส่งสถานศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้อง เพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงส่วนที่บกพร่องและเรื่องราวอื่นๆ  ที่ต้องการติดตามและประเมินผล ดังนั้นบริการแนะแนวในบริการด้านนี้จึงเป็นงานที่หนักเช่นกัน
สำหรับงานติดตามผลและประเมินผลนั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกรูปแบบได้
ประโยชน์ของบริการติดตามและประเมินผล
*ทราบความความสำเร็จของผู้เรียน
*ช่วยเหลือผู้เรียนตามความเหมาะสม
*เป็นข้อมูลการพิจารณาวางแผนการบริหารการศึกษาในโรงเรียน
*เป็นข้อมูลพิจารณาความสำเร็จของการจัดการศึกษา
*เป็นข้อมูลตรวจสอบข้อบกพร่องของการจัดการศึกษา

วิธีการติดตามและประเมินผล
*แบบสอบถาม
*โทรศัพท์
*จดหมาย
*แบบสำรวจ
*ปัจจุบันนิยมสำรวจผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสถาบันศึกษานั้นๆ